วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรม



นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฝนหลวง



จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆแห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤติของพืชผล คือพืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจจะไม่มี ผลผลิตให้เลย เป็นต้น ดังนั้นภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงใน แต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความเดือดร้อน และความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญเติบตของกลุ่มอุตสาหกรรม

ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรง ความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปี พุทธศักราช2498จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับ จากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากร ที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝน ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหา ความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัย เชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้ การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิด ความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของ น้ำ คือ

1. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน
2. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน
3. การพัฒนา การ จัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใน บรรยากาศ

และทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ว่าด้วย ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศจะ สามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้ อย่างแน่นอน
ดังนั้น ในปี พุทธศักราช 2499 จึงได้ทรง พระมหากรุณาพระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการ ศึกษา วิจัย และ การพัฒนา กรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว




--------------------------------------------------------------------------------

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ตามลำดับ ดังนี้

ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม(main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้อง ใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆ สลาย

ขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี"
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมี ความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)



เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง
1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่
1.1 เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
1.2 เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะ ติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทย ุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ
1.3 เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและ การเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล ปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย
1.4 เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น

2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น

3. เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องทรพิมพ์ เป็นต้น

4. เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ

5. สถานี เรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น Doppler radar จัดเป็น เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์(Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือ ที่ เรียกว่า สถานี เรดาร์ฝนหลวง นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่

ด้วยความสำคัญและปริมาณความต้องการให้ ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือทวีจำนวนมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อให้งานปฏิบัติการฝนหลวงสามารถ ปฏิบัติการช่วยเหลือเกษตรกรได้กว้างขวาง และได้ ผลดียิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราช กฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักงานปฏิบัติการ ฝนหลวงขึ้นในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2518 เพื่อ เป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวง ต่อไป

จากกรรมวิธีการทำฝนหลวงที่ใช้เป็นหลัก อยู่ในปัจจุบัน คือการโปรยสารเคมีฝนหลวง จากเครื่องบิน เพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัว และ การเจริญเติบโตของเมฆ และการโจมตีกลุ่ม เป้าหมาย ที่ต้องการที่เคยปฏิบัติกันมา ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันนี้ นั้นใน บางครั้งก็ประสบปัญหาที่ไม่สามารถ ปฏิบัติการตามขั้นตอน กรรมวิธีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขั้นโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมาย ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากฝนตกปกคลุมสนามบิน เกิดลมพายุปั่นป่วน และรุนแรง เครื่องบิน ไม่สามารถบินขึ้นปฏิบัติการได้ ทำให้กลุ่มเมฆ เคลื่อนพ้นพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีการวิจัยและทดลองกรรมวิธี การทำฝน เพื่อการพัฒนาและก้าวหน้าบรรลุ เป้าหมายยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง อาทิเช่นการทำวิจัย สร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน จึงได้มี การเริ่มวิจัยประดิษฐ์จรวดทำฝนร่วมกับ กรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2515-2516 จนก้าวหน้าถึง ระดับทดลองยิงในเบื้องต้นแล้ว แต่ต้อง หยุดชะงักด้วยความจำเป็นบางประการของ กรมสรรพาวุธทหารบกจนถึงพ.ศ.2524 คณะกรรมการสภาวิจัย แห่งชาติได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและ วิจัยจรวดฝนเทียมขึ้นประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านจรวดของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นักวิชาการ ของสภาวิจัยแห่งชาติ และนักวิชาการฝนหลวงซึ่ง ได้ทำการวิจัยประดิษฐ์และพัฒนาจรวด ต้นแบบขึ้น ทำการทดลองยิงทดสอบก้าวหน้า มาตามลำดับ และถึงขั้นบรรจุสารเคมีเพื่อ ทดลองยิงเข้าสู่ก้อนเมฆจริงแล้วในปี พ.ศ. 2530 ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิต จรวดเชิงอุตสาหกรรมเพื่อทำการยิงทดลอง และตรวจสอบผลในเชิงปฏิบัติการต่อไป ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง พระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยชิ้นนี้

อาจกล่าวได้ว่าการวางแผนและกำหนดกรรมวิธี ในการทำฝนหลวงในขั้นตอนต่างๆนั้น ได้ มาจากพระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้ง การนำความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการดำเนินงานให้แต่ละขั้นตอนมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยุสื่อสาร, ดาวเทียม หรือ แม้แต่คอมพิวเตอร์ ก็ตาม กล่าวคือ พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
ที่มา:http://www.prdnorth.in.th/The_King/rain.php

แก้มลิง



"โครงการแก้มลิง" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืชโครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนัก ในลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน
ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่านเสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำ
เขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนัก และส่งผล กระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน
คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯ
เพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล
โดยทรงเปรียบเทียบการ กินอาหารของลิงหลังจากที่ลิง เคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้างแล้วค่อย ๆ ดุนกล้วยมากินในภายหลัง
เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุนให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่
ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิงสำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเล
ด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป
โครงการแก้มลิง

"...ตามปกติ เวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง... เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ
"โครงการแก้มลิง" น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้ เปรอะไปทั่วภาคกลาง จะต้องทำ "แก้มลิง" เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้..."


พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๔๓๘






"โครงการแก้มลิง" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืชโครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนัก ในลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน
ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่านเสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำ
เขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนัก และส่งผล กระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน
คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯ
เพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล
โดยทรงเปรียบเทียบการ กินอาหารของลิงหลังจากที่ลิง เคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้างแล้วค่อย ๆ ดุนกล้วยมากินในภายหลัง
เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุนให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่
ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิงสำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเล
ด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป

แนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ

ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม
ประการที่ ๒ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริ
เพื่อกันการขยายตัวของเมืองและเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก
ประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิม
และขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ
ประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ
ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวง
ได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้น
น้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่
ไหลมาจากตอนบนร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทาน
และกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ
เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ
คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ "แก้มลิง" มีลักษณะและวิธีการดังนี้
๑. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ
่ที่บริเวณชายทะเล
๒. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าว
โดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
๓. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ
ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
๔. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ
โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)
หลักการ ๓ ประการ ที่จะทำให้โครงการแก้งลิงมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ การพิจรณา
๑. สถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
๒. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
๓. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง


"โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ใช้คลองชายทะเล
ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำส่วน
"โครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ทำหน้าที่รับน้ำ
ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อให้การระบายน้ำท่วม
ออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่างๆอาทิ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
ซึ่งใช้หลักการ ในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมาก
ลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ

โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครงการด้วยกัน คือ
๑. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
๒. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
๓. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายที่จะนำพาชาวไทยให้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย
ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า

ที่มา:http://www.sci.nu.ac.th/websci/webwin/p/sukhothaiwittayakom/water.htm

หญ้าแฝก



ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก
พืชจากพระราชดำริ : กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์
และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน
และการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ “หญ้าแฝก”
ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลาย
ของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆเกษตรกรสามารถ
ดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่าย
กว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลอง
เกี่ยวกับหญ้าแฝก ลักษณะของหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า
Vetiver Grass มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A.
Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็นพืชที่มีอายุ
ได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม.
มีส่วนกว้าง 5-9 มม. หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อ
จากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้
เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้

การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

1.การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ
และดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่ม
ความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร
ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้

2.การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก

3.การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝก
เป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกเป็นแถว
ตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน

4.การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถว
ของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน

5.การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา

6.การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นา
ตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลองเพื่อกรอง
ตะกอนดิน

7.การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม

8.การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง โดยปลูกหญ้าแฝก
เพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง และปลูกขวางแนวลาดเท
เพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน

9.การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน
ทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น

10.การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพง
กักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและรากยังมี
ประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น

ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก

1.ปลูกหญ้าแฝกบนคันนา เพื่อให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน

2.ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคา ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิต
จำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้าทำให้
มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้

3.หญ้าแฝกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไข้ได้ ส่วนราก
สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ อาทิเช่น
ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ “Vetiver”

จากการดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันให้เป็นไปตามพระราชดำริ ทำให้มี
ผลการศึกษาและการปฏิบัติได้ผลอย่างชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า
“ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2536 International Erosion Control Association(IECA) ได้มีมติ
ถวายรางวัลThe International Erosion Control Association’s International
Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำ
หญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้า
ทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้า ฯ ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด
ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่น
ในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และผลการดำเนิน
งานหญ้าแฝกในประเทศไทยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก ความอุดมสมบูรณ์
ของผืนแผ่นดินที่กลับคืนมานี้ เป็นเพราะพระวิริยะอุตสาหะและพระปรีชาญาณอันยาวไกล
แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาหนทางในการแก้ไข
ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยที่กำลังถูกทำลายไป
อย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อความมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนอย่างแท้จริง

ที่มา:http://siweb.dss.go.th/sci60/team100/royalpro/grass.htm

พิกลุทอง




ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในระหว่างวันที่ ๑๘ สิงหาคม - ๓ ตุลาคม ๒๕๒๔ พระองค์เสด็จฯเยี่ยมราษฎร โดยทั่วไปในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพพื้นที่ และความจำเป็นที่จะยกระดับความเป็นอยู่ภาวะเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ของจังหวัดนราธิวาสให้ดีขึ้น จึงได้มีพระราชดำริและพระราชกระแสรับสั่งต่อเจ้าหน้าที่และผู้ติดตามเสด็จฯ ให้พิจารณาปรับปรุงการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่พรุ ได้มีพระราชกระแสรับสั่งถึง ม.จ.จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี นายชิต นิลพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายเล็ก จินดาสงวน ผู้ช่วยอธิบดีกรมชลประทาน นายวารินทร์ บุษบรรณ เกษตรจังหวัดนราธิวาส นายอำเภอท้องที่ และข้าราชการอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
พื้นที่จำนวนมากในจังหวัดนราธิวาสเป็นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังตลอดปี ดินมีคุณภาพต่ำ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ไร่ เกษตรกรส่วนมากไม่มีที่ดินทำกิน แม้เมื่อระบายน้ำออกแล้วก็ยังยากที่จะใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้ผล ทั้งนี้เนื่องจากดินมีสารประกอบไพไรท์ เมื่อแห้งทำให้เกิดกำมะถัน เป็นสาเหตุให้ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยให้พนักงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษาและพิจารณาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสาน และนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่พรุอื่นในโอกาสต่อไป หลังจากพระองค์ทรงมีพระราชดำริแล้ว ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างจังหวัดและสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเพื่อการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) โดยมี ม.จ.จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา โดยใช้ชื่อว่า "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง" ซึ่งกำหนดแนวทางในการดำเนินงานโครงการโดยยึดหลักพระราชดำริเป็นแนวทาง และ กปร. มีมติอนุมัติหลักการในการดำเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๕ โดยให้สำนักงานเลขานุการ กปร. เป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการจัดทำแผนงานและงบประมาณสนับสนุน
วัตถุประสงค์

(๑) เพื่อศึกษาและพัฒนาดินอินทรีย์ รวมทั้งดินที่มีปัญหาอื่น ๆ ในพื้นที่พรุให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร และด้านอื่น ๆ ตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่พรุที่แบ่งเป็นเขตสงวน เขตอนุรักษ์ และเขตพัฒนาไว้แล้ว
(๒) วิเคราะห์ ทดลอง วิจัย ทดสอบ เกี่ยวกับการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการเกษตรอุตสาหกรรม ที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่พรุ และให้ผลตอบแทนสูงสุด
(๓) เป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลด้านการวิเคราะห์ตัวอย่างในห้องปฏิบัติการรวมทั้งเป็นศูนย์กลางการสาธิต เผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรสาขาอื่น ๆ
(๔) เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมการพัฒนาอาชีพ ทั้งด้านการเกษตรและศิลปหัตถกรรมที่ทำจากวัสดุพื้นเมือง ให้กับราษฎรทั้งในหมู่บ้านบริวาร ศูนย์สาขาและผู้สนใจทั่วไป
(๕) เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎร และพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ความจำเป็นพื้นฐานของหมู่บ้านบริวาร และศูนย์สาขา ให้สูงขึ้น
(๖) เพื่อนำผลการศึกษาและพัฒนาไปเป็นแบบอย่างใช้กับโครงการพัฒนาแหล่งอื่น ๆ ต่อ

ที่มา:http://web.ku.ac.th/king72/2526/pikun.htm

เกษตรทฤษฎีใหม่



ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีตจนถึง ปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขตที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วน มากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหายอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดิน ฟ้า อากาศ และฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็ไม่มีขนาดแน่นอน หรือมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอรวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว

ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อเป็น การช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าวให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลา วิกฤตโดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือนร้อนและยากลำบากนัก
พระราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" อันเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรใน ที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทฤษฎีใหม่ : ทำไมใหม่
๑. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
๒. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี
๓. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง ๓ ขั้นตอน

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น

การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน
ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง
พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่างๆ
พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน สำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย

พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ ๑๐% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ

ที่มา:http://www.loeiarmy.com/loei/type1/menu2_h1.html

สหกรณ์



ความเป็นมาของโครงการ
ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการห้วยมะนาว จังหวัดเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนองพระราช ดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกระทรวงมหาดไทยมีโครงการจัดที่ดินช่วยเหลือชาวนาชาวไร่ (แปลงใหญ่) ที่ไม่มีที่ทำกิน หรือมีที่กินเล็กน้อยไม่เพียงพอกับการครองชีพ โดยให้จังหวัดเชียงใหม่สำรวจที่ดินที่อยู่ในหลักเกณฑ์การจัดที่ดินเแปลงใหญ่ที่ตั้งอยู่หมู่ที่ 2, 4 และ 8 ตำบลบ้านกาด อำเภอสันป่าตอง เสนอไปยังกรมที่ดินและกรมที่ดินได้จัดทำโครงการที่ดินที่จังหวัดเชียงใหม่ได้เสนอไปนำเข้าแผนงานการจัดที่ดินช่วยเหลือชาวนาชาวไร่ เสนอคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 1/2518 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2518 ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้ดำเนินการตามโครงการได้ และให้จังหวัดรีบดำเนินการประกาศกำหนดเขตและที่ตั้งของที่ดินที่จัดเพื่อให้ประชาชนทราบ และให้ผู้ที่ประสงค์จะอยู่อาศัยและประกอบอาชีพยื่นคำขอ ต่อมากรมที่ดินได้จัดส่งช่างและเจ้าหน้าที่มาดำเนินการจัดที่ดินตั้งแต่เดือนเมษายน 2518ได้รังวัดวางผังจัดแบ่งเป็นแปลงย่อยแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2519 และจังหวัดได้ประกาศรับคำขอจับจอง ให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยและประกอบอาชีพตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2518 ถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2518 มีผู้ยื่นคำขอจับจองทั้งสิ้นจำนวน 3, 132 ราย โดยจะทำการคัดเลือกบุคคลจับฉลากให้เข้าอยู่อาศัยและประกอบอาชีพตามโครงการในวันที่ 17 มีนาคม 2519
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 และวันที่ 13 มีนาคม 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราช ดำเนินไปทอดพระเนตรที่ดินบริเวณที่จัดสรร และทรงมีพระราชปรารภว่าสภาพที่ดินยังขาดแคลนน้ำไว้ใช้สอยในการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม หากจะได้มีการจัดหาน้ำให้ได้เป็นอันดับแรก และดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็จะทำให้ที่ดินดังกล่าวตลอดทั้งบริเวณใกล้เคียงมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมได้ตลอดปี และการจัดราษฎรเข้าอยู่ควรจัดเป็นรูปหมู่บ้านสหกรณ์ สมาชิกมีสิทธิเข้าทำกินประกอบการเลี้ยงชีพได้ตลอดถึงทายาทแต่จะจำหน่ายสิทธิ์ในที่ดินไม่ได้ เว้นแต่จะโอนสิทธิ์กันในหมู่สมาชิกด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการสหกรณ์
เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่จึงได้พิจารณาของงดโครงการฯ ที่กรมที่ดินได้ ดำเนินการมาแล้วทั้งหมด และจังหวัดเชียงใหม่ได้ร่างโครงการจัดที่ดินหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยมะนาวขึ้นใหม่ แล้วเสนอโครงการฯ นี้ ไปยังกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณา และเสนอต่อคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีได้ประชุมพิจารณาโครงการฯ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2519 ลงมติเห็นชอบด้วยและอนุมัติให้กระทรวงมหาดไทยแต่ตั้งคณะกรรมการระดับกระทรวง และคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบและดำเนินการจัดที่ดินตามโครงการจัดที่ดินหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยมะนาว ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 342/2519 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2519

วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อให้การจัดที่ดินช่วยเหลือชาวนา ชาวไร่ (แปลงใหญ่) ของกระทรวงมหาดไทย ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีกระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดแผนดำเนินงานเป็น “โครงการจัดที่ดินหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยมะนาวตามพระราชดำริ” ขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
1. เพื่อที่จะจัดให้มีหมู่บ้านสหกรณ์ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งกรมที่ดินกำลังดำเนินการอยู่ โดยให้สมาชิกทุกคนมีสิทธิ์ร่วมกันแต่ละหมู่บ้านสหกรณ์
2. เพื่อที่จะจัดหาน้ำไว้ใช้สอยตลอดปี โดยทางราชการจะเข้าดำเนินการให้ระยะแรก และคณะกรรมการหมู่บ้านสหกรณ์จะรับไปดำเนินการในระยะต่อไป
3. เพื่อประโยชน์แก่การดำเนินงานของหมู่บ้านสหกรณ์ อาจขยายพื้นที่ของหมู่บ้านสหกรณ์ออกไปได้อีกตามความจำเป็น
4. สหกรณ์จะเป็นผู้กำหนดให้สมาชิกเพราะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ตามความต้องการของตลาด และความเหมาะสมในการใช้น้ำ
5. เพื่อที่จะให้การดำเนินงานของหมู่บ้านสหกรณ์ได้บรรลุเป้าหมายอันจะเป็นผลทำให้สมาชิกสหกรณ์ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตลอดไป อีกทั้งรายได้ดี มีอาชีพมั่นคง และประพฤติตนเป็นคนดีมุ่งต่อประโยชน์ของสังคมเพื่อจะได้จัดเป็นหมู่บ้านที่มีการพัฒนาอาชีพ การศึกษา อนามัยและอื่น ๆ ที่จะเป็น

งานของกรมส่งเสริมสหกรณ์
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
1. งานส่งเสริมสหกรณ์ แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการเพื่อดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ตามความต้องการของสมาชิก
2. งานสาธิตทดลองการเกษตรและส่งเสริมอาชีพ จัดทำแปลงสาธิตทดลองการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่แปลงสาธิตทดลอง ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อให้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมสมาชิกในพื้นที่ กับปฏิบัติงานในลักษณะประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนงานด้านสาธิตทดลองการเกษตร
3. งานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ งานของโครงการให้กับผู้เยี่ยมชม กิจการ ซึ่งประกอบด้วย นักเรียน นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ และผู้สนใจทั่วไป

หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้ง
ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ถนนบ้านกาด – วังน้ำค้าง ตำบลบ้านกาด กิ่งอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่โครงการ 9,500 ไร่ มีลักษณะเป็นเนินสูง ๆ ต่ำๆ พื้นดินเป็นลูกรัง หินผุปนทรายมาก ความอุดมสมบูรณ์ของดินมีน้อย

การประกอบอาชีพของสมาชิกสหกรณ์
อาชีพหลักคือการทำเกษตรกรรม ได้แก่การปลูกหอมหัวใหญ่การทำพืชผักสวนครัว การปลูกไม้ผล การปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ฯลฯ เป็นต้น

สหกรณ์ที่อยู่ในความดูแลส่งเสริม จำนวน 1 สหกรณ์ คือ
สหกรณ์การเกษตรห้วยมะนาว จำกัด

ที่มา:http://www.cpd.go.th/king_project3.html

หินซ้อน



ในการดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้เป็นไปตามพระราชดำริ และบรรลุวัตถุประสงค์ ควรจะได้ดำเนินการโดยมีหลักการสำคัญ ๆ คือ
1 ) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
2 ) การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น และประหยัด
3 ) การพึ่งตนเอง
4 ) การส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม
5 ) การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
6 ) การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม

1 ) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
มุ่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความทุกข์ยาก เดือดร้อน ที่ราษฎรกำลังประสบ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส ถึงความจำเป็นนี้ว่า
"" …..ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก ….เป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อนแต่ปวดหัว ใช้ยาแก้ปวด… หรือยาอะไรก็ตามแก้ปวดหัวมันไม่ได้แก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้แล้วอีกอย่างก็คือ แบบ Macro นี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย… อย่างบ้านคนอยู่เราบอกบ้านนี้มันผุตรงโน้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะไปซ้อม… เอาตกลงรื้อบ้านนี้ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่ ก็ต้องค้ำเสียก่อนแล้วค่อย ๆ ทำ จะไประเบิดหมดไม่ได้… ""

2 ) การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น และประหยัด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้คำว่า " ระเบิดจากข้างใน " นั่นคือทำให้ชุมชนหมู่บ้าน มีความเข้มแข็งก่อนแล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน หมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว ดังแนวพระราชดำรัสต่อไปนี้
""… การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและ อุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หาก มุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชน โดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจจะกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยะประเทศหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้…
การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพ และตั้งตัวให้มีความพอกิน พอใจ ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงในต่อไป โดยแน่นอนส่วนการถือหลักที่จะ ส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์ …""

3) การพึ่งตนเอง
การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพ และสามารถ "พึ่งตนเองได้" ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งซึ่งขออัญเชิญมา ณ ที่นี้คือ
"… การเข้าใจถึงสถานการณ์ของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่าง เหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้นในการช่วยเหลือแต่ละครั้งแต่ละกรณี จำเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการและความจำเป็นก่อน และต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วยให้เข้าใจด้วยว่าเขาอยู่ ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใด อีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป…"

4) การส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าควรที่จะสร้างเสริมสิ่งที่ชาวบ้านชนบทขาดแคลนซึ่งก็คือความรู้ในการทำมาหากิน การทำการเกษตรโดยให้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พระองค์ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "ตัวอย่างของความสำเร็จ" มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฏรในชนบทมีโอกาสได้รู้ได้เห็นตัวอย่างของ ความสำเร็จนี้และนำไปปฏิบัติได้เอง พระองค์จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาทดลอง วิจัยและแสวงหาความรู้ เทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่ราษฎร "รับได้" นำไป "ดำเนินการเองได้" และเป็นวิธีที่ "ประหยัด" เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของราษฏร ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศนั้นๆ

5) การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
พระองค์ทรงเห็นว่าการพัฒนาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติจะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร จึงทรงมุ่งที่จะให้มีการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนา ประเทศ ในระยะยาว พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ในการทำนุบำรุงปรับปรุงสภาพของทรัพยากร ธรรมชาติต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็น การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนสู่สภาพเดิมและยังได้ส่งเสริมให้ราษฏรรู้จักการใช้ทรัพยากรที่มี อยู่อย่างจำกัดอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อประโยชน์ในระยะยาว

6) การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ช่วงแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ( ปี 2530-2534) ปรากฏว่าเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่สูงและรวดเร็ว โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนไปสู่การผลิตที่มีภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นหลัก มีผลทำให้สังคมไทย เริ่มเปลี่ยน จากสังคมชนบทสู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ความเจริญส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่ในเมืองหลักๆ ในภูมิภาคต่างๆ และรอบกรุงเทพมหานคร ในขณะเดียวกันได้ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ ที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ที่มา :http://www.ldd.go.th/web_study_center/khoahinson/hinsub/dumri1.asp

เศรษฐกิจพอเพียง



เศรษฐกิจพอเพียง ( อังกฤษ : sufficiency economy) เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ รวมถึงระดับรัฐบาลในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัส แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ และภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่นๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัส เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙) และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไปในที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานข้างต้น เป็นที่มาของ นิยาม "๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านช่องทางต่างๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไข ความรู้ และ คุณธรรม

ในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสว่า

"การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง"

พระราชดำรัส "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

ศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง คำว่า ความพอเพียง นั้นหมายถึงความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทั้งภายนอกและภาย ใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้ง ความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้นในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัต นำสู่ ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ของ ชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม
ที่มา http://dit.dru.ac.th/ka/a04.php
เขียนโดย N'ball ที่ 0:58 0 ความคิดเห็น